การรับรองความเป็นสปาล้านนา

คณะกรรมการและกระบวนการรับรองความเป็นสปาล้านนา

โครงสร้างขององค์กรรับรองความเป็นสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

องค์กรรับรองความเป็นสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพควรเป็นองค์กรอิสระที่สามารถขับเคลื่อนการทำงานได้ด้วยตนเอง โดยมีตำแหน่งผู้อำนวยการทำหน้าที่ในการบริหารองค์กรสูงสุด และมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ทั้งนี้ โครงสร้างภายในองค์กรแบ่งออกเป็น 5 ส่วน (ภาพที่ 3) ดังนี้

คณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย บุคลากรที่มาจากหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สถาบันการศึกษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมภาคเหนือ (สภาพัฒน์) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมไทยล้านนาสปา สมาคมส่งเสริมบริการสุขภาพเชียงใหม่ สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์สมาคมสปาแอนด์เวลเนสไทย สถาบันสอนนวดไทยและสปา และสถานประกอบการสปา โดยมีคุณสมบัติดังนี้

  1. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสปาอย่างน้อย 5 ปี
  2. มีความสามารถในการบริหาร
  3. มีความรู้เกี่ยวกับการตลาดสปา
  4. มีความรู้และความสามารถในการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
  5. มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในธุรกิจสปา
  6. มีบุคลิกภาพที่ดี

กระบวนการขอรับรองความเป็นสปาล้านนา


เกณฑ์การรับรองความเป็นสปาล้านนา

ในการตรวจประเมินรับรองความเป็นสปาล้านนามีเกณฑ์และแนวทางในการตรวจประเมิน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. สถานประกอบการต้องแสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
  2. ดำเนินกิจการหรือก่อตั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายทุกประเภท
  3. การประเมินมาตรฐานสถานประกอบการสปาล้านนาจำแนกตามประเภทของสถานประกอบการ ดังนี้
    1) สถานประกอบการสปาล้านนา ประเภทแบบไม่มีที่พัก
    2) สถานประกอบการสปาล้านนา ประเภทแบบมีที่พัก
    ในการตรวจประเมินจะทำการตรวจประเมินตามเกณฑ์และตัวชี้วัดทุกตัว หากสถานประกอบการใดไม่มีจัดไว้ จะคิดคะแนนเป็น 0 คะแนน และประเมินคะแนนตามระดับที่กำหนดไว้เพื่อนำไปคำนวณคะแนนรวมต่อไป ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการตรวจมีทั้งสิ้น 38 ตัวชี้วัด

เกณฑ์การรับรองความเป็นสปาล้านนาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประกอบด้วยการประเมินแนวคิดผ่านการให้บริการครบทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 รูป: ภาพลักษณ์สะท้อนวัฒนธรรม
ด้านที่ 2 รส: รสชาติสะท้อนภูมิปัญญา
ด้านที่ 3 กลิ่น: กลิ่นสะท้อนความหอมล้านนา
ด้านที่ 4 เสียง: เสียงสะท้อนธรรมชาติล้านนา
ด้านที่ 5 การสัมผัสและการบริการ: บริการสะท้อนวิถีชีวิต


ภาพกิจกรรมการตรวจประเมิน


ภาพโล่และป้ายการรับรองความเป็นสปาล้านนา


สปาต้นแบบ